วันศุกร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

วิจารณ์ภาพยนตร์เรื่อง Riding Alone for Thousands of Miles


ผลงานกำกับโดย จางอี้โหมว

           เป็นภาพยนตร์ที่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่าง ทางด้านภาษา สังคม วัฒนธรรม นั้นทำให้เห็นว่ามนุษย์เรานั้น จะสามารถสื่อสารกันได้โดยไม่จำเป็นจะต้องใช้ภาษาเพียงอย่างเดียว สามารถนำกริยา ท่าทาง สีหน้า มาสื่อสารกันได้ โดยเป็นลักษณะของทฤษฎีสัญญะ

            ตัวละครเอกผู้เป็นพ่อ ที่ไม่ได้ติดต่อกับลูกชายของตนเองหลังจากภรรยาของเขาเสียไป ไปสาเหตุที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเขากับลูกชายมีความห่างเหินกัน จนกระทั่งทราบข่าวว่าลูกชายป่วย  จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เขาต้องออกเดินทางไปยังประเทศจีน เพื่อทำตามความฝันของลูกชายเสมือนเป็นการทำหน้าที่พ่อให้กับลูกชายเป็นครั้งสุดท้าย เหตุการณ์โดยรวมที่เกิดขึ้น นั้นให้ความหมายที่มากกว่าการเดินทางไปเพียงแค่ไปถ่ายรูปการแสดง งิ้ว แต่มีความหมายถึง การเดินทางออกจากกรอบที่ตัวเองสร้างไว้ เการแสดงความรักที่มีต่อลูกชายของตัวเองโดยไม่ต้องใช้คำพูดใดใด การยอมรับที่จะทำความเข้าใจในตัวของลูกชายตัวเอง โดยที่ไม่สนใจว่าลูกชายของเขาต้องการสิ่งที่เขาจะทำให้หรือไม่
            ความสัมพันธ์ที่มีความที่มีความห่างเหิน ภาพยนตร์เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่าความห่างเหินไม่ใช่เรื่องของระยะทางแต่กลับเป็นเรื่องของความรู้สึก

การเดินทางครั้งนี้เป็นการเดินทางไกลที่มีระยะหลายพันไมล์แต่สิ่งที่ ทาคาตะ ได้รับจากการเดินทางครั้งนี้กับไม่ได้รู้สึกถึงความไกลเหมือนกับระยะทางที่ได้เดินทางมา ระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศจีน เขาได้รับทั้งมิตรภาพ ความอบอุ่น ที่ระยะทางไม่มีผลกับเขา ทำให้เราสามารถมองข้ามภาษา วัฒนธรรมที่มีความแตกต่าง และไม่ใช่ข้อจำกัดของการสร้างมิตรภาพ

ระยะทางกับความรู้สึก เปรียบได้ว่าหากอยู่ใกล้กันแต่ถ้าไม่เปิดใจยอมรับนั้นก็เหมือนอยู่ไกลกัน จะเห็นได้จากตอนที่ ทาคาตะไปเยี่ยมลูกชายของเขาที่โรงพยาบาล ห่างกันเพียงแค่กำแพงหนึ่ง แต่ทางความรู้สึกนั้นกลับมีความห่างเหิน แต่เมื่อทาคาตะได้ออกเดินทาง เขาได้เข้าใจลูกชายมากขึ้นพร้อมกับรู้ความรู้สึกที่แท้จริงของ  เคนอิจิแล้ว ถึงแม้ตัวเคนอิจิจะตายไป แต่ก็กลับมีความรู้สึกที่ใกล้กันมากขึ้น

การแสดงงิ้วที่สวมหน้ากาก เปรียบได้ถึงความรู้สึกที่ถูกปิดกั้น เพราะเราไม่สามารถรับรู้ถึงอารมณ์ของนักแสดงที่อยู่หลังหน้ากากนั้นได้ สิ่งที่เราเห็นได้ก็มีแต่สิ่งที่เขาแสดงออกมา ตอนที่นักแสดงหลี่ เปิดหน้ากากของตนเองแล้วร้องไห้นั้นเหมือนกับการเปิดเผยความรู้สึก ที่ตัวเองนั้นอยากเจอลูกชาย รวมถึงความรู้สึกของเคนอิจิ ที่ได้บอกว่าตัวเขาได้ซ้อนความรู้สึกที่ไม่ต่างจากการใส่หน้ากาก

คุก ในภาพยนตร์ได้ให้ความหมายว่า ถึงแม้ตัวของหลี่จะถูกกักขัง จึงทำให้ไม่สามารถไปหาลูกได้แต่ตัวเขาไม่เคยกักขังความรู้สึกตัวเอง ต่างจากทาคาตะที่ไม่มีสิ่งใดกักขัง แต่เป็นใจของเขาเอง

เมื่อทาคาตะได้พบกับหยางหยางลูกชายของหลี่ ที่ทาคาตะได้ตั้งใจว่าจะพาหยางหยางไปพบกับพ่อของเขา ซึ่งทาคาตะได้สังเกตเห็นว่าหยางหยางเหมือนไม่อยากพบพ่อของตัวเอง การหนีของหยางหยาง เป็นการแสดงความรู้สึกของตัวเอง ซึ่งเราสามารถรู้ถึงความรู้สึกของหยางหยางได้โดยที่ไม่ต้องใช้ภาษาใดๆในการอธิบาย    การที่เขาได้ห่างเหินจากลูกชายมานานทำให้เขาไม่รู้ถึงความรู้สึกของลูกชาย แต่เมื่อเขาได้พบหยางหยางจึงได้กลายเป็นตัวละครหนึ่งที่ได้สะท้อนว่า ลูกชายของเขาคงไม่ต่างไปจากเด็กชายคนนี้เช่นกัน

ทำให้เขาเกิดความรู้สึกเอ็นดูหยางหยางอย่างมาก  ในช่วงที่ทั้งสองหลงทางกับเป็นช่วงที่ทั้งสองเกิดความรู้สึกผูกพันธ์ ทั้งๆที่ทั้งสองมีความแตกต่างกันในเรื่องภาษา ซึ่งหมายความได้ว่าภาษาไม่ใช่ข้อจำกัดในการแสดงความรู้สึก สิ่งที่สามารถเข้าใจได้นั้นมาจากการกระทำ การกอดกันที่เป็นสัญลักษณ์ที่ทำให้เข้าใจได้ความรู้สึกได้โดยไม่ต้องพูด
ในช่วงเหตุการณ์ที่ทั้งสองหลงทาง จะเห็นได้ว่ามีการใช้สัญญาณขอความช่วยเหลือ โดยใช้แฟลชจากกล้องถ่ายรูปเป็นเครื่องมือส่งสัญญาณ ก็เป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารโดยใช้ระบบของสัญญะ

ความสวยงามของภาพยนตร์เรื่องนี้ ไม่ได้เกิดจากรูปลักษณ์ภายนอกที่สวยงาม แต่เมื่อได้ดูแล้วก็สามารถรู้สึกว่าความที่สวยงามที่แท้จริงนั้น มาจากความเป็นธรรมชาติที่ไม่มีการปรุ่งแต่งใดๆ ความเป็นธรรมชาติของชุมชนที่ดูเก่า ชนบท ดูทรุดโทรม แต่กลับมองเห็นได้ว่าความเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนนี้มันมีความสวยงาม
ชุดของนักแสดงงิ้วที่ดูเก่า ดูทรุดโทรม แต่การแสดงที่เต็มไปด้วยความรู้สึกทำให้เราสามารถมองข้ามความสวยงามทางภาพลักษณ์ไปได้

ทางด้านตัวละคร เด็กน้อยหยางหยางที่มีหน้ามอมแมม สวมเสื้อผ้าเก่าๆ ความเป็นธรรมชาติในวัยเด็ก ที่ไม่มีอะไรเจือปน ความซื่อสัตย์ทางอารมณ์เด็กที่ไม่ได้ปกปิด ทำให้เราได้เห็นความรู้สึกของเขาทำให้เรามองข้ามภาพลักษณ์ภายนอกไปด้วยเช่นกัน

หากความสวยงามไม่ได้ขึ้นอยู่กับความเป็นรูปธรรม แต่สามารถเห็นได้ผ่านความรู้สึก ซึ่งมีอีกสิ่งที่เป็นความสวยงามของเรื่องนี้คือ มิตรภาพ การช่วยเหลือซึ่งกันและกันที่ไม่ได้แบ่งแยก การยินดีต้อนรับของชาวบ้านที่มอบให้กับทาคาตะ สิ่งที่เขาได้รับไม่ใช่เพียงแค่การทำตามความฝันของลูกชาย แต่ตัวเขากับกลับได้ออกมาจากความรุ้สึกที่ถูกกักขังไว้ภายใน  

      สรุปได้ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ต้องการที่จะเสนอถึงความสัมพันธ์ระหว่างพ่อกับลูก 2 คู่ ที่มีความเหมือนกันทางด้านความสัมพันธ์ แต่มีมุมมองที่แตกต่างกัน
      ทาคาตะ กับ เคนอิจิ  พ่อที่กักขังความรู้สึกตัวเอง ไม่เคยแสเงความรู้สึกอะไรกับลูกชาย ซึ่งการเดินทางในครั้งนี้จึงได้กลายเป็นโอกาสในการเปิดเผยความรู้สึกต่อลูกชายที่ป่วยเป็นครั้งสุดท้ายก่อนที่เคนอิจิจะจากโลกไป
      หลี่ กับ หยางหยาง  พ่อที่ติดคุกถูกกักขังทางด้านร่ายกาย แต่ยอมรับในความรู้สึกของตัวเอง หยางหยางเด็กน้อยที่ยังไม่พร้อมที่จะเจอหน้าพ่อ ซึ่งกลับกลายเป็นตัวของหยางหยางยังไม่ได้เปิดโอกาสให้พ่อของเขาได้แสดงความรู้สึก
ทำให้เห็นถึงความแตกต่างได้ว่าพ่อคนนึงที่ถูกกักขังร่างกายแต่ไม่ได้กักขังความรู้สึกของตัวเอง ส่วนทาคาตะที่ไม่ถูกกักขังร่างกาย แต่เป็นตัวเขาที่กักขังตัวเอง 


by : Kamonwan Srichalongrat

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น